End-to-end supply chain flow
Published On: กันยายน 13, 2023

การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการซัพพลายเชนของธุรกิจนั้น จำเป็นต้องมีกลยุทธ์เข้ามาปรับใช้ เพื่อช่วยลดและป้องกันปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตและสร้างกำไรให้กับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่หลาย ๆ องค์กรนำมาปรับใช้ นั่นก็คือการนำกระบวนการ E2E ในการจัดการซัพพลายเชน (ซัพพลายเชนแบบ End to End) เข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพต่อการทำธุรกิจในแบบ B2B

สำหรับบทความนี้ เราจะมาหาคำตอบกันว่าซัพพลายเชนแบบ End-to-End นั้นหมายถึงอะไร และสามารถช่วยส่งเสริมและแก้ปัญหา ที่ธุรกิจซัพพลายเชนต้องเผชิญหน้าได้อย่างไรบ้าง?

ซัพพลายเชนแบบ End-to-End คืออะไร?

การจัดการซัพพลายเชนแบบ End to End (End-to-End Supply Chain Management) หรือ กระบวนการ E2E หมายถึงซัพพลายเชนที่มีกระบวนการครอบคลุมถึงการจัดหา เคลื่อนย้าย และเปลี่ยนแปลงของสินค้าจากซัพพลายเออร์ต้นทางไปยังผู้บริโภค ซึ่งจะรวมทุกขั้นตอนในซัพพลายเชนเอาไว้ในความดูแลของธุรกิจเดียว ตั้งแต่การคาดการณ์ปริมาณความต้องการสินค้า การจัดหาสินค้า การผลิต การตรวจสอบสินค้า การจัดเก็บ การขนส่ง การขาย ไปจนถึงการบริการลูกค้า โดยที่กระบวนการทำงานแบบองค์รวมนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการ ปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับซัพพลายเชนในแต่ละขั้นตอน จึงช่วยลดต้นทุน และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การจัดการซัพพลายเชนแบบ End to End จึงถือเป็นหนึ่งในวิธีการที่สามารถเข้ามาช่วยส่งเสริมและแก้ปัญหาด้านการจัดการซัพพลายเชนได้ในทุก ๆ ขั้นตอน

บทบาทสำคัญของบริษัทที่ให้บริการจัดการซัพพลายเชนแบบครบวงจร

ในขั้นตอนการดำเนินงานของซัพพลายเชนแบบทั่วไป ที่ต้องติดต่อประสานงานกันระหว่างหลาย ๆ บริษัท อาจทำให้ต้องพบเจอกับปัญหาในหลากหลายรูปแบบ เช่น อุปสรรคการจัดหาสินค้าในกรณีที่สินค้าขาดตลาด มีความต้องการสินค้าแบบเร่งด่วน สเปกสินค้าไม่ถูกต้อง ไปจนถึงปัญหาเรื่องการขนส่ง ซึ่งหากธุรกิจไม่สามารถรับรู้ถึงปัญหาเหล่านี้ได้ทันท่วงที อาจทำให้การทำงานของทั้งกระบวนการต้องหยุดชะงัก หรืออาจสร้างปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามมาได้อย่างไม่รู้จบ เนื่องจากธุรกิจไม่สามารถมองเห็นภาพรวมของการทำงานและความเคลื่อนไหวของกระบวนการที่เกี่ยวข้องได้อย่างครอบคลุม ทำให้ขาด Supply Chain Visibility ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานไปทั้งระบบ นอกจากนี้ การจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการซัพพลายเชน เช่น การจ้างบริษัทหนึ่งผลิตสินค้า บริษัทหนึ่งขนส่ง และจ้างอีกบริษัทเพื่อกระจายสินค้า ยังจะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก

แต่ในทางกลับกัน หากธุรกิจเลือกใช้บริการจัดการซัพพลายเชนที่ครบวงจรแบบ End-to-End จะสามารถช่วยลดและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการจัดหาและกระจายสินค้าเหล่านี้ได้ อีกทั้งยังจะช่วยให้เห็นถึงภาพรวมของการทำงาน และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะเลือกใช้บริการจากที่เดียวเท่านั้น

Supply Chain Visibility คืออะไร
ทำไมจึงเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการซัพพลายเชน?

Supply Chain Visibility หรือการจัดการทัศนวิสัยในกระบวนการซัพพลายเชน เป็นความสามารถในการติดตามสินค้าระหว่างการขนส่งจากแหล่งผลิตไปยังปลายทางสุดท้าย รวมถึงความรู้ความเข้าใจด้านการผลิต คุณภาพสินค้า เวลาการส่งมอบ ต้นทุน และสินค้าคงคลัง ช่วยให้ธุรกิจสามารถระบุปัญหาได้อย่างทันท่วงที จึงช่วยลดความไม่แน่นอนและสามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เหมาะสม แม้จะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การที่หยุดชะงักอย่างไม่คาดคิด

ซึ่งหากธุรกิจเลือกเป็นพาร์ทเนอร์กับธุรกิจซัพพลายเชนที่มาพร้อมกับบริการ End-to-End Supply Chain Management ก็จะช่วยเพิ่ม Supply Chain Visibility ต่อกระบวนการทำงาน และทำให้สามารถรู้ถึงกระบวนการทำงานในภาพรวม และมองเห็นปัญหาในกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ส่งผลให้สามารถบริหารจัดการกับกระบวนการซัพพลายเชน และปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างครบจบ เนื่องจากทุกขั้นตอนถูกจัดการโดยผู้ให้บริการเพียงเจ้าเดียวเท่านั้น ทำให้ธุรกิจสามารถทำงานได้อย่างทันท่วงที ทำให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ดำเนินธุรกิจได้อย่างไม่มีสะดุด อีกทั้งยังง่ายต่อการปรับทุกขั้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า จึงช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการได้ในท้ายที่สุด

ประโยชน์ของ End-to-End Supply Chain ต่อธุรกิจ B2B

End-to-end supply chain to prevent businesses obstacle
  • 1. ลดต้นทุนในการดำเนินงาน
    ซัพพลายเชนแบบ End to End ช่วยให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนในการดำเนินงานได้ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้บริการหลาย ๆ บริษัท กับการจัดการแต่ละขั้นตอนในกระบวนการซัพพลายเชน นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันปัญหาในกระบวนการซัพพลายเชนที่อาจก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดตามมา

  • 2. ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์ปริมาณความต้องการสินค้า
    เพราะการมี Supply Chain Visibility ที่ดีจากการจัดการซัพพลายเชนแบบ E2E จึงทำให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์ปริมาณความต้องการของสินค้าได้ดียิ่งขึ้น จึงสามารถช่วยจัดหาสินค้าได้อย่างพอดี ไม่น้อยเกินไปจนสินค้าไม่พอ หรือมากเกินไปจนสินค้าล้นสต๊อก

  • 3. สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
    การจัดการซัพพลายเชนด้วยกระบวนการ E2E จะทำให้สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้มากที่สุด เพราะธุรกิจมีความสามารถในการดูแลและจัดการได้ทุกขั้นตอน สินค้าที่ได้จึงมีคุณภาพตามต้องการ ส่งผลต่อการบริการด้านการขายที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงบริการจัดส่งสินค้าเองก็มั่นใจได้ว่าจะเป็นไปตามมาตรฐานที่ธุรกิจต้องการได้

  • 4. ช่วยจัดการกับความเสี่ยงในการดำเนินงาน
    ซัพพลายเชนแบบ End to End จะช่วยจัดการกับความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจได้ โดยการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการซัพพลายเชน และช่วยให้จัดการกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจน้อยที่สุด

  • 5. เพิ่มโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ
    การใช้กลยุทธ์ซัพพลายเชนแบบ E2E เข้ามาช่วยจัดการต่อกระบวนการซัพพลายเชนนั้น จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ทำให้ธุรกิจมีทรัพยากร เวลา และโอกาสมากขึ้นในการไปพัฒนาธุรกิจ โดยการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาสินค้า การบริการ และการดำเนินการธุรกิจให้ตอบโจทย์ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างสูงสุด

ซัพพลายเชนแบบ End to End กลยุทธ์
ที่กู้คืนความสำเร็จให้ธุรกิจระดับโลก

กลยุทธ์การจัดการซัพพลายเชนด้วยกระบวนการ E2E มีหลากหลายบริษัทนำไปปรับใช้ รวมถึงธุรกิจระดับโลกอย่าง Starbucks ที่เคยขาดทุนอย่างมหาศาล แต่กลับฟื้นตัวและประสบความสำเร็จขึ้นมาได้อย่างในปัจจุบัน เพราะได้นำการจัดการซัพพลายเชนเข้าไปช่วยบริหารธุรกิจ จนทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนด้านซัพพลายเชนได้

หลัก ๆ แล้ว ปัญหาที่ Starbucks ต้องเผชิญก่อนหน้านี้ คือเรื่องของการจัดหาวัตถุดิบ และอุปกรณ์สำหรับร้านกาแฟกว่าหมื่นสาขาทั่วโลก รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการจัดการซัพพลายเชนที่สูงมาก ทำให้ Starbucks จำเป็นต้องนำเอาวิธีจัดการซัพพลายเชนรูปแบบต่าง ๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุน รวมถึงช่วยในการจัดหาและกระจายสินค้าไปยังสาขาต่าง ๆ ทั่วโลก โดยหนึ่งในกลยุทธ์นั้นก็คือ End-to-End Supply Chain Management หรือซัพพลายเชนแบบ End to End

การประยุกต์ใช้ End-to-End Supply Chain Management ของ Starbucks

  • Coffee Bean Sourcing : ขั้นตอน Supply Chain ของ Starbucks เริ่มต้นตั้งแต่การคัดสรรเมล็ดกาแฟให้ได้กาแฟที่มีคุณภาพ และคุ้มค่ากับงบประมาณที่สุด
  • Roasting and Packaging : หลังคัดสรรเมล็ดกาแฟมาแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการคั่ว และบรรจุเมล็ดกาแฟเพื่อเตรียมการส่งไปยังสาขาต่าง ๆ ทั่วโลก และการขายออนไลน์ ซึ่งจะช่วยควบคุมคุณภาพของสินค้าที่ใช้ทั่วโลกให้มีคุณภาพในระดับเดียวกันได้
  • Distribution and Logistics : ดูแลการจัดส่งวัตถุดิบโดยการใช้บริการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถจัดส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ไปยังสาขาทั่วโลกได้ตรงเวลา และควบคุมคุณภาพวัตถุดิบเอาไว้ได้
  • Inventory Management : ใช้ระบบการจัดการสต๊อกสินค้าที่ทันสมัยและมีคุณภาพ เพื่อให้สามารถติดตามความต้องการใช้วัตถุดิบต่าง ๆ ของแต่ละสาขาได้ และนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้เพื่อคาดคะเนความต้องการสินค้าในอนาคตได้อย่างแม่นยำ และยังช่วยป้องกันการขาดแคลนสินค้าได้อีกด้วย
  • Store Operations : นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการจัดการหน้าร้านที่เป็นระบบ เพื่อช่วยส่งเสริมการจัดการซัพพลายเชนให้มีคุณภาพ และเกิดปัญหาให้น้อยที่สุด

ด้วยกระบวนการ End-to-End Supply Chain Management ทำให้ Starbucks สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดการซัพพลายเชนได้สูงถึง 500 พันล้านดอลลาร์ จึงช่วยพลิกสถานการณ์วิกฤตของ Starbucks ให้กลับมาประสบความสำเร็จได้อีกครั้ง

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ พร้อมลดต้นทุนและปัญหาในการดำเนินงาน โดยการเพิ่ม Supply Chain Visibility ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปอย่างราบรื่นแล้ว ยังจะช่วยเพิ่มความประทับใจให้กับลูกค้าได้มากกว่าที่เคย การเลือกใช้บริการ End to End Supply Chain Company ที่ครบวงจร จะช่วยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจซัพพลายเชนให้เกิดความคล่องตัวและประสบความสำเร็จมากขึ้นได้ หากต้องการปรึกษา หรือสอบถามเกี่ยวกับบริการ End-to-End Supply Chain Management สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SCG International