“วัตถุดิบปนเปื้อน ไม่ได้มาตรฐานตามที่ตกลงไว้” “ติดฉลากผิด” “ลูกค้าส่งคืนสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน” สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นฝันร้ายที่ผู้ประกอบการไม่ต้องการจะเจอ ด้วยเหตุนี้ การตรวจสอบคุณภาพสินค้าและ Supplier จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ
การตรวจสอบคุณภาพสินค้าและ Supplier คืออะไร?
การตรวจสอบคุณภาพสินค้าและ Supplier คือ การตรวจสอบสินค้าที่ได้สั่งซื้อหรือสั่งผลิตจากซัพพลายเออร์ว่าตรงตามมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ในสัญญาหรือไม่ รูปแบบการตรวจสอบจะมีทั้งการให้บริษัทที่เป็นพาร์ทเนอร์เป็นผู้ตรวจสอบเอง หรือการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบสินค้าซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพ เพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน และเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบ ซึ่งจะสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยเฉพาะการสั่งสินค้าจาก Supplier ที่อยู่ในต่างประเทศ
ทำไมการตรวจสอบคุณภาพสินค้าถึงสำคัญ?
การตรวจสอบคุณภาพสินค้า เป็นการลดความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยในการใช้สินค้า ลดค่าใช้จ่ายในการชดเชยค่าเสียหาย หรือการรับประกันสินค้าที่หลุดมาตรฐาน และที่สำคัญที่สุดคือ มั่นใจได้ว่าสินค้ามีกระบวนการผลิตและคุณภาพเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของประเทศที่ออกวางขาย เพราะหากว่าสินค้าโดนตีกลับหรือห้ามจำหน่ายทั้งล็อตการผลิต จะส่งผลเสียหายต่อธุรกิจ ไม่เพียงแค่ต้นทุนในการผลิตสินค้าใหม่ แต่ยังส่งผลถึงชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของแบรนด์และบริษัท
ในทางกลับกันถ้าหากแบรนด์สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง จนได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้บริโภค การจำหน่ายสินค้าใหม่ก็จะง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะลูกค้ามีความเชื่อมั่นต่อสินค้า ช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ตัวอย่างสินค้าที่มีความอ่อนไหว และเสี่ยงต่อการปนเปื้อน
- โลหะที่ไม่มีแร่เหล็กเป็นส่วนประกอบ (Non-Ferrous Scrap) ที่นำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ จะต้องมีการตรวจสอบวัสดุปนเปื้อนอย่างละเอียดทั้งความบริสุทธิ์ของโลหะ ความแม่นยำของน้ำหนัก การปนเปื้อน บรรจุภัณฑ์ที่ใส่วัสดุที่ต้องมีความแข็งแรงและไม่ฉีกขาดระหว่างการขนส่ง รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบของแต่ละประเภท
- เคมีภัณฑ์ (Chemicals) ที่ต้องใส่ใจทุกรายละเอียด เพื่อไม่ให้สินค้าโดนตีกลับ หรือห้ามนำเข้าประเทศปลายทาง โดยจะต้องมีการตรวจสอบเรื่องความบริสุทธิ์ของสารเคมี การจัดเก็บ การติดฉลาก และการจัดการอย่างเหมาะสม ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- แป้งมันสำปะหลัง (Starch) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารและยา การควบคุมคุณภาพของสินค้า ไม่ให้มีการปนเปื้อน และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ Supplier ต้องให้ความสำคัญ
ทำไมธุรกิจ B2B ต้องหันมาให้ความสำคัญกับการตรวจสอบคุณภาพสินค้ามากขึ้น?
การตรวจสอบคุณภาพสินค้าเป็นหนึ่งในการส่งมอบคุณค่าให้กับธุรกิจ ซึ่งมากกว่าการส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพให้กับธุรกิจ โดยจะเป็นการส่งมอบคุณค่าสำหรับธุรกิจในแง่มุมดังต่อไปนี้
- ลดความเสี่ยง ทั้งก่อน (Quality, Regulatory and Compliance Issues) และหลัง (ประกันสินค้า) เพื่อการส่งมอบสินค้าที่ได้ตามมาตรฐาน ทั้งมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานตามกฎหมายของแต่ละพื้นที่และในระดับนานาชาติ รวมถึงยังจะช่วยลดปริมาณการเคลมสินค้า ซึ่งอาจส่งผลต่อชื่อเสียงของบริษัท และเป็นภาพจำของแบรนด์ที่ยากจะแก้ไขในระยะเวลาอันสั้น
- ได้ราคาสินค้าที่สมเหตุสมผลกับเงื่อนไขหรือข้อบังคับ (Requirement) ที่ตั้งไว้มากที่สุด
- ยกระดับมาตรฐานสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล หรือเหนือกว่าคู่แข่ง โดยการระบุลักษณะเฉพาะ หรือมาตรฐานการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงตามที่ต้องการมากยิ่งขึ้น และตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าได้รับสินค้าตรงตามคุณภาพที่กำหนด
- เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น ด้วยชื่อเสียงที่เพิ่มมากขึ้นจากการผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพ ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ลดปริมาณสินค้าตีกลับหรือขอเคลมประกันสินค้าหลังการจำหน่าย
การตรวจสอบคุณภาพสินค้า
การตรวจสอบคุณภาพสินค้าแต่ละประเภทจะใช้เกณฑ์มาตรฐานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งส่วนมากจะใช้เกณฑ์คะแนนระดับของคุณภาพที่ยอมรับได้ (Acceptable Quality Limit: AQL) ซึ่งเป็นค่าสูงสุดของจำนวนความบกพร่องที่เจอในการผลิต โดยจะพิจารณาถึงข้อบกพร่องและความไม่สอดคล้องต่าง ๆ ตามมาตรฐานที่ได้กำหนดเอาไว้ หรือถ้าในกรณีที่เป็นสินค้าประเภทอาหาร จะดำเนินการตรวจสอบตามแนวทางของ WHO Food Code (Codex Alimentarius)
อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบคุณภาพของสินค้าสามารถทำได้ 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
1. วิธีตรวจสอบทุกชิ้น (Screening inspection)
มักจะใช้วิธีนี้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน หรือเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสูง
ตัวอย่างเช่น การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มักจะมีส่วนประกอบเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยเหตุนี้ส่วนประกอบต่าง ๆ อย่างตัวเก็บประจุ ตัวต้านทาน และชิป จะต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อคัดเอาส่วนประกอบที่ชำรุดออกไป ไม่ให้ส่งผลต่อการทำงานของผลิตภัณฑ์
2. วิธีการสุ่มตัวอย่างจากแต่ละรุ่น (Lot by Lot Inspection or Sampling)
วิธีนี้จะใช้เวลาและค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการตรวจสอบทุกชิ้น มักจะใช้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความพึงพอใจของลูกค้า และมีความเสี่ยงในระดับปานกลางไปถึงสูง
ตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่มีการผลิตเสื้อผ้าในปริมาณมากต่อหนึ่งล็อต จึงนำเอาวิธีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าโดยการสุ่มตัวอย่างมาใช้ เพื่อให้มั่นใจว่าการตัดเย็บ เนื้อผ้า และส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นไปตามมาตรฐาน ในกรณีที่พบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานจะต้องผลิตใหม่ทั้งล็อต
3. วิธีตรวจสอบตามขบวนการผลิต (Process Inspection)
เป็นการสุ่มตรวจชิ้นงานระหว่างการผลิต ทำให้สามารถแก้ไขได้ทันที ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสินค้าทั้งล็อต มักใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงปานกลาง
ตัวอย่างเช่น การผลิตรถยนต์ จะมีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าในแต่ละขั้นตอนการผลิตอย่างละเอียด ตั้งแต่การเชื่อมไปจนถึงการทาสี เพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามขั้นตอนและได้มาตรฐานการผลิตที่ถูกต้อง มีความปลอดภัยสูง
การตรวจสอบสถานที่ผลิตสินค้าของซัพพลายเออร์
นอกจากการตรวจสอบคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแล้ว ยังมีการตรวจสอบด้านสถานที่ผลิตสินค้าของซัพพลายเออร์
ซึ่งแบ่งเป็น 5 รูปแบบดังต่อไปนี้
1. การควบคุมการผลิตขั้นต้น (Initial Production Check: IPC)
เป็นการตรวจสอบวัตถุดิบ ไปจนถึงกระบวนการจัดเก็บวัตถุดิบว่ามีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ เพราะการใช้วัตถุดิบที่คุณภาพต่ำจะส่งผลให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน และไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่ตกลงไว้ได้
2. การควบคุมระหว่างการผลิต (During Production Inspection: DUPRO)
เป็นการตรวจสอบคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์เมื่อผลิตไปแล้ว 20-50% โดยจะทำการตรวจสอบว่ากระบวนการทั้งหมดเป็นไปตามเงื่อนไข กระบวนการ และคุณภาพตามที่ได้ตกลงกันไว้หรือไม่ หากเจอข้อผิดพลาดจะได้แก้ไขและปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณในการดำเนินงาน
3. การติดตามผลิตภัณฑ์รายวัน (Daily Production Monitoring)
เป็นการตรวจสอบคุณภาพสินค้าในทุกวันที่มีการผลิต เพื่อให้ได้คุณภาพและมาตรฐานตามที่กำหนด ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจสอบของโรงงานที่ผลิตสินค้าเอง
4. การตรวจสอบก่อนการขนส่ง (Pre-Shipment Inspection: PSI)
เป็นการสุ่มสินค้ามาตรวจสอบเมื่อมีการผลิตไปแล้วเกือบทั้งหมด หรือเกินกว่า 80% เป็นการตรวจสอบคุณสมบัติของสินค้าอีกครั้งว่าเป็นไปตามข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้หรือไม่ รวมถึงตรวจสอบเรื่องเอกสารว่าได้ปฏิบัติตามข้อบังคับและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของประเทศปลายทางหรือไม่ ก่อนที่จะแพ็กและเตรียมนำส่งสินค้า
5. การควบคุมการขนสินค้าขึ้นคอนเทนเนอร์ (Container Loading Check: CLC)
เมื่อผลิตสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือ การตรวจสอบการบรรจุและแพ็กสินค้า และการขนส่ง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นระหว่างทาง
ข้อดีของการใช้บุคคลที่ 3
ในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าและ Supplier
ในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าและ Supplier
ปัจจุบันการจัดหาสินค้า ไม่ได้จำกัดเพียงในประเทศเท่านั้น แต่ยังสามารถค้นหาซัพพลายเออร์ดี ๆ จากทั่วโลกได้ ดังนั้น การใช้บุคคลที่ 3 ในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์จะส่งผลดีต่อธุรกิจดังนี้
สำหรับธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ Global Sourcing ในการจัดหาสินค้าและวัตถุดิบ การตรวจสอบคุณภาพสินค้ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เป็นการบริหารความเสี่ยงและลดความผิดพลาดในการผลิตสินค้า ที่สำคัญคือ ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า ไม่ว่าฐานการผลิตของเราจะอยู่ที่ไหนในโลกก็ตาม
SCG International คือผู้เชี่ยวชาญด้านซัพพลายเชนระหว่างประเทศ มีบริการ Sourcing and Supplier Inspection Service ที่มีเครือข่ายซัพพลายเออร์คุณภาพกว่า 50 ประเทศจากทั่วโลกที่พร้อมส่งมอบวัตถุดิบและสินค้าให้คุณได้แบบไม่มีสะดุด และยังมี Solution อีกมากมายที่ช่วยติดปีกให้ธุรกิจคุณก้าวไกลไปทั่วโลก ด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดหาสินค้าระหว่างประเทศ ที่พร้อมมอบบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าในแต่ละอุตสาหกรรม
ดูข้อมูลบริการและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่